Breaking News

ฟอร์ดชวนรำลึกประวัติศาสตร์วิทยุในรถไปกับ ‘ฟอร์ด เฮอริเทจ วอลต์’ เนื่องในวันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ

Ford Thai Radio Day

ฟอร์ดชวนคนรักรถมาร่วมรำลึกถึงประวัติศาสตร์ของวิทยุในรถยนต์เนื่องในโอกาสวันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปี กับเรื่องราวความเป็นมาของระบบความบันเทิงบนรถยนต์ในคลังประวัติศาสตร์ออนไลน์ ‘ฟอร์ด เฮอริเทจ วอลต์’  

ทราบหรือไม่ว่า ก่อนที่วิทยุจะมาอยู่บนหน้าจอทัชสกรีนของระบบความบันเทิงในรถยนต์ดังเช่นปัจจุบัน เมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว วิทยุบนรถนั้นมีขนาดใหญ่กินพื้นที่เบาะหลังทั้งหมด

การแข่งขันในวงการวิทยุ

การแข่งขันอันดุเดือดของวงการเครื่องเสียงในรถยนต์เริ่มต้นจากการออกอากาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2463 ของสถานีวิทยุกระจายเสียง KDKA ทำให้ผู้ฟังรับทราบข่าวสารได้รวดเร็วกว่าการอ่านหนังสือพิมพ์

ทั้งยังทราบข่าวสารขณะเดินทางได้อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายจึงเริ่มติดตั้งวิทยุแบบพกพาได้ แต่เป็นวิทยุที่มีขนาดใหญ่เทอะทะ และมีราคาสูงถึง 1 ใน 5 ของราคารถยนต์

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่ถึง 10 ปี ผู้ผลิตรถยนต์ค้นพบวิธีรับมือกับปัญหาคลื่นวิทยุแทรกแซงการจุดระเบิดในเครื่องยนต์และปัญหาขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่เกินไปได้ มีการพัฒนาเสาอากาศและรวมวิทยุเข้าไปอยู่ในแผงหน้าปัดรถยนต์ได้ อย่างเช่น วิทยุในช่องเก็บของด้านหน้าอันโด่งดังของฟอร์ด

และในปี พ.ศ. 2476 ผู้ผลิตรถยนต์ 31 ใน 33 รายได้จำหน่ายรถยนต์ที่มีวิทยุและเสาอากาศเป็นทางเลือกเสริมสำหรับผู้ซื้อ ขณะที่ฟอร์ดเริ่มออกแบบวิทยุติดตั้งตามสั่งขายพร้อมกับรถยนต์ผ่านผู้จำหน่าย

ที่มาของวิทยุบนรถฟอร์ด

ในปี พ.ศ. 2472 ชาร์ลส์ โธมัส ผู้จัดการห้องปฏิบัติการเสียงของฟอร์ด (Ford Acoustical Laboratory) ได้ทดลองติดตั้งวิทยุบนรถฟอร์ด Model A ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากถังน้ำมันที่อยู่ด้านหลังแผงหน้าปัดรถทำให้เขาต้องติดวิทยุใต้พื้นรถ และติดตั้งไม้จูนเสียงขึ้นมาเหมือนกับเกียร์ที่อยู่ระหว่างขาคนขับ ถึงแม้จะเป็นเพียงการทดลองเบื้องต้น แต่ก็เป็นแนวทางให้ฟอร์ดพัฒนารถต้นแบบขึ้นมาได้

วิทยุติดรถเครื่องแรกของฟอร์ดผลิตขึ้นโดยบริษัท Grigsby-Grunow ในปี พ.ศ. 2475 หลังจากรถฟอร์ด V8 ในตำนานเปิดตัวไม่นาน โดยวิทยุรุ่น Majestic 111 เป็นวิทยุที่ทำงานด้วยมอเตอร์ มีเครื่องรับวิทยุแบบซูเปอร์เฮทเทอร์โรดายน์ (superheterodyne receiver)  แบบ 6 หลอด มีระบบควบคุมเสียงอัตโนมัติ และมีฟีเจอร์ที่ช่วยลดเสียงรบกวนระหว่างเปลี่ยนคลื่นวิทยุ

ในปี พ.ศ. 2477 ฟอร์ดติดตั้งวิทยุขนาดกะทัดรัดจาก Philco และได้ร่วมกันพัฒนาเครื่องรับสัญญาณที่ ออกแบบให้ติดตั้งบริเวณกลางแผงหน้าปัดรถยนต์แทนที่เขี่ยบุหรี่

ความต้องการวิทยุบนรถเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี พ.ศ.2475 ฟอร์ดได้ติดตั้งวิทยุบนรถที่จำหน่ายในอเมริกาไปกว่า 25,000 เครื่อง และเพิ่มเป็นกว่า 200,000 เครื่องในปี พ.ศ. 2478 ความนิยมของวิทยุในรถยนต์แพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยฟอร์ดนับเป็นผู้นำทั้งด้านการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีวิทยุบนรถยนต์

ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเครื่องรับสัญญาณวิทยุเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1950  นับจากการเริ่มติดตั้งวิทยุบนรถในทศวรรษที่ 1930 โดยพัฒนาขึ้นอย่างจริงจังและรวดเร็ว ตั้งแต่การใช้หลอดแก้วขนาดเล็ก ไปจนถึงระบบ 12 โวลต์ การนำทรานซิสเตอร์มาใช้เป็นแอมปลิไฟเออร์ จนถึงการใช้วงจรแบบผสม การนำวงจรพิมพ์มาใช้ และเปลี่ยนเป็นวิทยุทรานซิสเตอร์ในท้ายที่สุด

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 ถึง 1970 วิทยุได้มีวิวัฒนาการขึ้นอีกครั้งด้วยการเพิ่มตัวเลือกเครื่องรับสัญญาณวิทยุแบบ AM/FM พร้อมเครื่องเล่นเทป และระบบค้นหาช่องสัญญาณAM/FM และในปีพ.ศ. 2516 มีเครื่องเล่นสเตอริโอเทปเพิ่มเข้ามา ตามด้วยวิทยุ AM/FM สเตอริโอที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์พร้อมกับเครื่องเล่นเทป 8 แทร็กแบบควอดราโซนิก (quadrasonic) ในปี พ.ศ. 2522

จากนั้นเป็นต้นมา ระบบเครื่องเสียงบนรถก็มีส่วนประกอบอื่นๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ท เครื่องเล่นซีดี ช่องต่อ MP3 และระบบสตรีมมิ่งแบบไร้สายอันเป็นที่ฮือฮา อย่างไรก็ตาม วิทยุ AM/FM ยังไม่หายไปไหน ฟอร์ดจึงได้รวบรวมข้อมูล และรูปภาพเกี่ยวกับความเป็นมาของวิทยุบนรถฟอร์ดมาให้ได้ชมกัน

Ford Model T first Ford car with a radio in Detroit Michigan undated neg 96054
นายตำรวจวอลเทอร์ สตริก จากเมืองดีทรอยต์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2464 กับรถตำรวจ Model T ซึ่งมีเสาอากาศขนาดใหญ่ และมีเครื่องรับสัญญาณทางเดียวขนาดใหญ่อยู่ท้ายเบาะหลัง
1934 Ford instrument panel with radio neg 58977
รถซีดาน ฟอร์ด V8 รุ่นปี 1933 หรือปี พ.ศ. 2476 ซึ่งนับเป็นรถคันแรกของฟอร์ดที่มีตัวรับสัญญาณAM ภายในรถ
1941 Ford accesory radio neg C6
ในทศวรรษที่ 1940 การออกแบบวิทยุพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และบางรุ่นก็ถอดแบบมาจากกระจังหน้าของรถฟอร์ด นวัตกรรมในยุคนั้นยังรวมถึงการตั้งคลื่นความถี่ยอดนิยมไว้ล่วงหน้าได้ด้วย
1955 Ford convertible instrument panel neg C608
รถฟอร์ดรุ่นปี 1955 มีแผงหน้าปัดรถยนต์แบบ ‘Astra-dial’ พร้อม ‘หน้าปัดวิทยุรูปวงกลม รับกับแผงควบคุมเครื่องปรับอากาศและนาฬิกา’
1964 Ford Falcon Sprint radio and glove compartment neg 131502-604
ฟอร์ด ฟอลคอน รุ่นปี 1964 เป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบวิทยุที่คงรูปแบบต่อเนื่องมาหลายทศวรรษ และปี พ.ศ. 2507 นี้เอง ฟอร์ดยังได้เปิดตัววิทยุที่มีเครื่องเล่นเทป 8 แทร็กแบบควอดราโซนิก (quadrasonic) ที่ใช้บนรถฟอร์ดรุ่นยอดนิยมที่เปิดตัวในพ.ศ. 2509 อย่าง มัสแตง ธันเดอร์เบิร์ด และลินคอล์น รุ่นปี 1966
1976 Ford Thunderbird radio
เทป 8 แทร็กเป็นที่นิยมแพร่หลายในทศวรรษที่ 1970 ในขณะที่คลื่น FM เริ่มเข้ามาแทนที่ AM
1985 Ford Ranger instrument panel radio heater air conditioning ar
ในปี พ.ศ. 2525 การเปิดตัวโซนี่ วอล์คแมน ทำให้เทปคาสเซ็ทเข้ามาแทนที่เทป 8 แทร็ก
1992 Ford Explorer interior ar
ฟอร์ดเป็นแบรนด์แรกๆ ที่นำเทคโนโลยีแผ่นซีดีมาใช้ โดยเปิดตัวรถคันแรกที่ติดตั้งเครื่องเล่นซีดีจากโรงงาน คือ ลินคอล์น ทาวน์ คาร์ รุ่นปี 1987 ซึ่งฟอร์ดได้พัฒนาเครื่องเล่นซีดีที่มาพร้อมลำโพง 140 วัตต์ 12 ตัว ที่ให้คุณภาพเสียงราวกับอยู่ในคอนเสิร์ต ภายใต้ความร่วมมือ 2 ปีกับ JBL
2012 Ford Ranger SYNC1 console
ฟอร์ดเปิดตัว SYNCÒ รุ่นแรก เป็นระบบความบันเทิงที่รับได้ทั้งคลื่นสัญญาณ AM/FM และยังเชื่อมต่อและควบคุมโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องเล่นผ่าน USB ได้ในปี พ.ศ. 2550
2020 Ranger Wildtrak_SYNC3
แนะนำ SYNCÒ 3 ระบบความบันเทิงเจเนอเรชันใหม่ของฟอร์ดที่มอบประสบการณ์การใช้งานที่สะดวกสบาย และลดความซับซ้อน
Ford SYNC4A
ปัจจุบัน เครื่องเสียงในรถฟอร์ดมาพร้อม SYNCÒ ซึ่งเป็นระบบความบันเทิงสุดล้ำ พร้อมระบบสั่งงานด้วยเสียง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

Check Also

MAZDA AJGA THAILAND JUNIOR CHAMPIONSHIP 2024 Final Result

ผลการแข่งขันกอล์ฟ MAZDA AJGA THAILAND JUNIOR CHAMPIONSHIP 2024 สนามแรกเยาวชนไทยควงจีนซิวแชมป์คว้าตั๋วไปอเมริกา

การแข่งขันกอล์ฟเยาวชนทัวร์นาเม้นต์ระดับโลก MAZDA AJGA THAILAND JUNIOR CHAMPIONSHIP 2024 เดินทางมาถึงวันสุดท้ายของการแข่งขัน เยาวชนทุกคนต่างมุ่งมั่นตั้งใจทำผลงานให้ออกมาดีที่สุด ผลัดกันขึ้นนำตั้งแต่วันแรกต้องลุ้นกันตลอด 3 วันของการแข่งขัน ประเภทเยาวชนหญิงและชายต่างขับเคี้ยวกันสุดมัน ท้ายที่สุดสาวน้อยจากไทยแลนด์ได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยผลงานอันยอดเยี่ยม วันสุดท้ายตีเข้ามาเพิ่ม …