Breaking News

โตโยต้า ประเทศไทย เผยตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2563

ข่าวสด รถยนต์ วันนี้: โตโยต้า ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 40,418 คัน ลดลง 54.1%

New Toyota Fortuner
New Toyota Fortuner

ข่าวสด รถยนต์ วันนี้: โตโยต้า ประเทศไทย เผยตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2563

หากคุณกำลังค้นหา Wallpaper รูปรถสวยๆ

เราขอแนะนำ Wallpaper รูปรถสวยๆ Download wallpaper ที่นี้

โตโยต้า เผยตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2563

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 40,418 คัน ลดลง 54.1% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 11,733 คัน ลดลง 65.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 28,685 คัน ลดลง 47.4% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 23,137 คัน ลดลง 47.5%

  • ประเด็นสำคัญ

ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม มีปริมาณการขาย 40,418 คัน ลดลง 54.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 65.1% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 47.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าสถานการณ์การขายของเดือนพฤษภาคม มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนเมษายนที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการที่รัฐบาลได้ทยอยประกาศผ่อนปรนมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้บางธุรกิจที่ได้รับการผ่อนปรนเริ่มทยอยกลับมาดำเนินงาน ซึ่งส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์ อย่างไรก็ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงอยู่ในช่วงของการค่อย ๆ ฟื้นตัว ทำให้ผู้บริโภคยังมีความระมัดระวังการใช้จ่ายอยู่ รวมถึงภาครัฐฯ ยังได้ออกมาตรการดูแลและเยียวยาเพื่อช่วยเหลือประชาชน และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ด้วย

ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 5 เดือน มีปริมาณการขาย 270,591 คัน ลดลง 38.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 42.2% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 35.6% เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไม่เพียงแต่ตลาดรถยนต์ไทย แต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและทั่วโลกต่อเนื่องกัน 5 เดือน

สำหรับเดือนมิถุนายนนี้ จากการที่ภาครัฐฯ ได้ดำเนินการผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ในระยะที่ 3 และการควบคุมสถานการณ์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศ และได้มีการคลายล็อกระยะที่ 4 มีผลบังคับใช้วันที่ 15 มิถุนายน โดยให้กิจการและกิจกรรมอีกหลายประเภทกลับมาดำเนินธุรกิจได้ภายใต้มาตรการที่ภาครัฐกำหนดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน และเศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ อย่างไรก็ตามประชาชนยังต้องเฝ้าระวัง และป้องกันการใช้ชีวิตตามมาตรการความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนจะมีทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง

Toyota GR Supra 2020 Edition
Toyota GR Supra 2020 Edition
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 40,418 คัน ลดลง 54.1%

  • อันดับที่ 1: โตโยต้า 13,611 คัน ลดลง 53.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.7%
  • อันดับที่ 2: อีซูซุ 10,130 คัน ลดลง 35.3% ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
  • อันดับที่ 3: ฮอนด้า 4,178 คัน ลดลง 62.8% ส่วนแบ่งตลาด 10.3%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 11,733 คัน ลดลง 65.1%

  • อันดับที่ 1: โตโยต้า 3,557 คัน ลดลง 62.9% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
  • อันดับที่ 2: ฮอนด้า 3,514 คัน ลดลง 59.2% ส่วนแบ่งตลาด 29.9%
  • อันดับที่ 3: ซูซูกิ 1,218 คัน ลดลง 37.3% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 28,685 คัน ลดลง 47.4%

  • อันดับที่ 1: อีซูซุ 10,130 คัน ลดลง 35.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
  • อันดับที่ 2: โตโยต้า 10,054 คัน ลดลง 49.2% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
  • อันดับที่ 3: มิตซูบิชิ 1,823 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 23,137 คัน ลดลง 47.5%

  • อันดับที่ 1: อีซูซุ 9,318 คัน ลดลง 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.3%
  • อันดับที่ 2: โตโยต้า 9,138 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
  • อันดับที่ 3: มิตซูบิชิ 1,823 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,570 คัน
โตโยต้า 1,308 คัน– มิตซูบิชิ 420 คัน – อีซูซุ 363 – คัน- ฟอร์ด 277 คัน – นิสสัน 181 คัน – เชฟโรเลต 21 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 20,567 คัน ลดลง 46.8%

  • อันดับที่ 1: อีซูซุ 8,955 คัน ลดลง 32.5% ส่วนแบ่งตลาด 43.5%
  • อันดับที่ 2: โตโยต้า 7,830 คัน ลดลง 48.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.1%
  • อันดับที่ 3: มิตซูบิชิ 1,403 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 270,591 คัน ลดลง 38.2%

  • อันดับที่ 1: โตโยต้า 80,856 คัน ลดลง 43.3% ส่วนแบ่งตลาด 29.9%
  • อันดับที่ 2: อีซูซุ 59,393 คัน ลดลง 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 21.9%
  • อันดับที่ 3: ฮอนด้า 35,504 คัน ลดลง 32.4% ส่วนแบ่งตลาด 13.1%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 98,948 คัน ลดลง 42.2%

  • อันดับที่ 1: ฮอนด้า 29,702 คัน ลดลง 25.3% ส่วนแบ่งตลาด 30.0%
  • อันดับที่ 2: โตโยต้า 25,124 คัน ลดลง 50.4% ส่วนแบ่งตลาด 25.4%
  • อันดับที่ 3: นิสสัน 10,908 คัน ลดลง 34.5% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 171,643 คัน ลดลง 35.6%

  • อันดับที่ 1: อีซูซุ 59,393 คัน ลดลง 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
  • อันดับที่ 2: โตโยต้า 55,732 คัน ลดลง 39.4% ส่วนแบ่งตลาด 32.5%
  • อันดับที่ 3: มิตซูบิชิ 12,854 คัน ลดลง 39.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 136,833 คัน ลดลง 37.2%

  • อันดับที่ 1: อีซูซุ 55,205 คัน ลดลง 21.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.3%
  • อันดับที่ 2: โตโยต้า 48,890 คัน ลดลง 40.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
  • อันดับที่ 3: มิตซูบิชิ 12,854 คัน ลดลง 39.5% ส่วนแบ่งตลาด 9.4%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 13,985 คัน
โตโยต้า 5,381 คัน – มิตซูบิชิ 3,265 คัน – อีซูซุ 2,448 คัน – ฟอร์ด 1,786 คัน – นิสสัน 495 คัน –เชฟโรเลต 610 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 122,848 คัน ลดลง 35.4%

  • อันดับที่ 1: อีซูซุ 52,757 คัน ลดลง 19.2% ส่วนแบ่งตลาด 42.9%
  • อันดับที่ 2: โตโยต้า 43,509 คัน ลดลง 37.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
  • อันดับที่ 3: มิตซูบิชิ 9,589 คัน ลดลง 38.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%

Check Also

Porsche _ Model Range

ปอร์เช่ ประเทศไทย โดย เอเอเอส กรุ๊ป เผยผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2567 ยอดขายเพิ่มขึ้น 23% สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจและความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อ AAS Group

ปอร์เช่ ประเทศไทย โดย เอเอเอส กรุ๊ป ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ปอร์เช่อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2567 ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมียอดขาย เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเปรียบเทียบจากยอดไตรมาสแรกในปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจและความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อ AAS …