Breaking News

โตโยต้า เผยตลาดรถยนต์สิงหาคมอยู่ในช่วง Low season ยอดขายรวม 42,176 คัน ลดลง 38.8%

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติ การขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2564 ชะลอตัวทุกเซ็กเมนท์ในช่วง Low Season มียอดขายรวมทั้งสิ้น 42,176 คัน

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติ การขายรถยนต์เดือนสิงหาคม 2564
TOYOTA

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติ การขายรถยนต์เดือนสิงหาคม 2564 

TOYOTA 

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2564 ชะลอตัวทุกเซ็กเมนท์ในช่วง Low Season

โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 42,176 คัน ลดลง 38.8%ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 13,845 คัน ลดลง 35% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 28,331 คัน ลดลง 40.5% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 21,875 คัน ลดลง 40.9%

ประเด็นสำคัญ

ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม 2564 มีปริมาณการขาย 42,176 คัน ลดลง 38.8% โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 35% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 40.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความวิตกกังวลต่อภาวะการระบาดของไวรัส COVID-19

ซึ่งเป็นการระบาดของสายพันธุ์ Delta ที่แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การโควิด-19 (ศบค.)ขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดมากขึ้น เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัส COVID-19

ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และภาคธุรกิจต่างๆ ส่งผลให้ผูบริโภคส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ภายในประเทศและรัดกุมเรื่องการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น ประกอบกับช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วง Low season ที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการขายรถยนต์อีกด้วย

ตลาดรถยนต์ในเดือนกันยายนมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 รวมทั้งการออกมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ต้องชะลอ หรือเลื่อนกำหนดการออกไป รวมไปถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทำให้ประชาชนเดือดร้อน

ด้วยหลายเหตุปัจจัยต่างๆ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และกระทบความสามารถในการซื้อรถยนต์ของลูกค้าด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดียังมีความหวังว่าสถานการณ์ต่างๆ จะฟื้นตัวดีขึ้นจากความพยายามของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา

และการประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 รวมทั้งมาตรการทางเศรษฐกิจ ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ฟื้นคืนกลับมาโดยเร็ว

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนสิงหาคม 2564

  1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 42,176 คัน ลดลง 8%
  • อันดับที่ 1 โตโยต้า   12,364 คัน ลดลง   42.8%   ส่วนแบ่งตลาด 29.3%
  • อันดับที่ 2 อีซูซุ        11,035 คัน ลดลง   33.4%   ส่วนแบ่งตลาด 26.2%
  • อันดับที่ 3 ฮอนด้า      5,345 คัน ลดลง    37.9%   ส่วนแบ่งตลาด 12.7%
  1. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 13,845 คัน ลดลง 35%
  • อันดับที่ 1 ฮอนด้า     4,906 คัน ลดลง   30.9%  ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า   3,694 คัน ลดลง   30.0%   ส่วนแบ่งตลาด 26.7%
  • อันดับที่ 3 มาสด้า     1,061 คัน ลดลง   49.6%   ส่วนแบ่งตลาด  7.7%
  1. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 28,331 คัน ลดลง 5%
  • อันดับที่ 1 อีซูซุ      11,035 คัน  ลดลง   33.4%  ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า   8,670 คัน  ลดลง   46.9%  ส่วนแบ่งตลาด 30.6%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด       2,012 คัน  ลดลง   23.3%  ส่วนแบ่งตลาด  7.1%
  1. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 21,875 คัน ลดลง 40.9%
  • อันดับที่ 1 อีซูซุ       9,638 คัน ลดลง     36.9%   ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า  7,754 คัน ลดลง     42.8%   ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด      2,012 คัน ลดลง     23.3%   ส่วนแบ่งตลาด  9.2%

 *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,487 คัน

โตโยต้า 1,114 คัน – อีซูซุ 687 คัน – มิตซูบิชิ 278 คัน – ฟอร์ด 250  คัน – นิสสัน 158 คัน

  1. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 19,388 คัน ลดลง 7%
  • อันดับที่ 1 อีซูซุ       8,951 คัน ลดลง  39.8%  ส่วนแบ่งตลาด 46.2%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า  6,640 คัน ลดลง  43.8%   ส่วนแบ่งตลาด 34.2%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด     1,762 คัน  ลดลง  15.7%   ส่วนแบ่งตลาด  9.1%              

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – สิงหาคม 2564

  1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 467,809 คัน เพิ่มขึ้น 4%
  • อันดับที่ 1 โตโยต้า  146,589 คัน เพิ่มขึ้น  9.9%   ส่วนแบ่งตลาด 31.3%
  • อันดับที่ 2 อีซูซุ       117,880 คัน เพิ่มขึ้น  9.1%   ส่วนแบ่งตลาด  25.2%
  • อันดับที่ 3 ฮอนด้า     55,018 คัน ลดลง     1.7%   ส่วนแบ่งตลาด 11.8%
  1. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 150,885 คัน ลดลง 4%
  • อันดับที่ 1 ฮอนด้า   47,557 คัน เพิ่มขึ้น  1.5%   ส่วนแบ่งตลาด 31.5%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า  37,864 คัน ลดลง    5.9%   ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
  • อันดับที่ 3 มาสด้า    13,235 คัน ลดลง    9.4%   ส่วนแบ่งตลาด  8.8%
  1. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 316,924 คัน เพิ่มขึ้น 6%
  • อันดับที่ 1 อีซูซุ        117,880 คัน  เพิ่มขึ้น   9.1%  ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า   108,725 คัน เพิ่มขึ้น  16.7%  ส่วนแบ่งตลาด 34.3%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด        20,429 คัน  เพิ่มขึ้น  24.1%  ส่วนแบ่งตลาด  6.4%
  1. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 246,625 คัน เพิ่มขึ้น 4.4%
  • อันดับที่ 1 อีซูซุ       107,060 คัน เพิ่มขึ้น   6.9%     ส่วนแบ่งตลาด 43.4%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า    92,458 คัน เพิ่มขึ้น   15.2%   ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด       20,429 คัน  เพิ่มขึ้น  24.1%    ส่วนแบ่งตลาด  8.3%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 33,123 คัน

โตโยต้า 14,525 คัน – อีซูซุ11,022 คัน – มิตซูบิชิ4,204 คัน – ฟอร์ด 3,015 คัน – นิสสัน 357 คัน

  1. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 213,502 คัน เพิ่มขึ้น 5%
  • อันดับที่ 1 อีซูซุ       96,038 คัน  ลดลง    0.3%    ส่วนแบ่งตลาด 45.0%
  • อันดับที่ 2 โตโยต้า  77,933 คัน  เพิ่มขึ้น  9.9%     ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
  • อันดับที่ 3 ฟอร์ด      17,414 คัน  เพิ่มขึ้น  30.0%   ส่วนแบ่งตลาด  8.2%    

Check Also

MICHELIN Ranked No.1 on SPOTT 2024

มิชลินครองอันดับหนึ่ง 3 ปีซ้อน สะท้อนการดำเนินงานที่โดดเด่นในภาคอุตสาหกรรมยางธรรมชาติหรือยางพารา (Natural Rubber Sector) บนเวทีโลก

ล่าสุด ‘มิชลิน’ ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยียางรถยนต์ระดับโลก รั้งตำแหน่งผู้ผลิตยางรถยนต์ที่ครองอันดับหนึ่งถึง 3 ปีติดต่อกันในการประเมินภาคอุตสาหกรรมยางธรรมชาติหรือยางพารา ซึ่งจัดทำโดย SPOTT ทั้งนี้ ในการประเมินผลประจำปี 2567 มิชลินรักษาความเป็นผู้นำในกลุ่มผู้ผลิตยางรถยนต์ที่มีคะแนนสูงสุดเอาไว้ได้ด้วยคะแนน 80.9% เพิ่มสูงขึ้น 0.8% …