Breaking News

เอสซีจี โตโยต้า และ CJPT ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อความร่วมมือในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย

SCG, Toyota, and CJPT Sign an MOU towards achieving Carbon Neutrality in Thailand

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (เอสซีจี) โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) และบริษัท Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมมือกันในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2530 เอสซีจี และ โตโยต้า ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท สยามโตโยต้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องยนต์ในประเทศไทย และในปีถัดมา เอสซีจี ได้มีสัดส่วนลงทุนในบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และนับตั้งแต่นั้น เอสซีจี และ โตโยต้า ได้มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นและได้ขยายธุรกิจให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย

ทั้งสองบริษัทฯ ซึ่งต่างได้รับการสนับสนุนและโอกาสให้เติบโตในประเทศไทย จะร่วมมือกับ CJPT โดยมุ่งหวังที่จะมีส่วนในการสร้างความสุขให้กับคนไทย 67 ล้านคน ผ่านความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายใต้แนวคิด “เริ่มจากสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ ร่วมกับพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน” โดยได้มีการบรรลุข้อตกลงเพื่อหาทางออกในสามด้าน ได้แก่

ทางออกด้านพลังงาน ทางออกผ่านการใช้ข้อมูล และทางออกด้านการเดินทาง โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศ และมุ่งหวังจะสร้างผลลัพธ์จากการดำเนินการโครงการภายในสิ้นปีนี้ ในการนี้ ได้มีเริ่มต้นการทดลองด้วยการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพที่นำมาจากฟาร์มสัตว์ปีก และการจัดกิจกรรมงานแสดงนวัตกรรมยานยนต์เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ในระยะเวลาที่ผ่านมา

SCG, Toyota, and CJPT Sign an MOU towards achieving Carbon Neutrality in Thailand

1. ทางออกด้านพลังงาน

– การจัดการด้านพลังงานและใช้พลังงานหมุนเวียน รวมถึงไฮโดรเจน

ค้นหาทางออกด้านพลังงานที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย อาทิ การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานไฮโดรเจน จากทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ชีวมวลและอาหารเหลือทิ้ง รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ  ซึ่งประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมาก

2. ทางออกผ่านการใช้ข้อมูล

– การใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งรวมถึงการบรรทุกและการจัดเส้นทางที่เหมาะสม

เพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในประเทศไทย และ Big Data ของ เอสซีจี และ CJPT

3. ทางออกด้านการเดินทาง

– การจัดหาทางเลือกที่หลากหลาย ให้สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างในประเทศไทย

นำเสนอยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ได้แก่ HEVs, BEVs และ FCEV รวมถึงยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับความพร้อมด้านพลังงาน และสภาวะเศรษฐกิจ ความพร้อมของลูกค้า และรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ระยะการขับขี่และน้ำหนักบรรทุก เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง

และเพื่อเริ่มต้นดำเนินการทั้งสามด้านในทันที เราจะดำเนินการโครงการเพื่อสังคมครอบคลุมทั้งวงจร การผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงาน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย รวมถึงการตรวจสอบประเมินผล และการนำเสนอผลดังกล่าวผ่านหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อนำไปใช้กับภูมิภาคอื่นต่อไป ทั้งนี้ ทั้งสามบริษัทฯ จะใช้โอกาสนี้เพื่อประเมินปริมาณการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

SCG, Toyota, and CJPT Sign an MOU towards achieving Carbon Neutrality in Thailand

จากซ้ายไปขวา: มร.ฮิโรกิ นากาจิมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CJPT, มร.มาซาโนริ คาตายามะ ประธานคณะกรรมการ และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ อีซูซุ มอเตอร์ จำกัด, นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี, มร.โคจิ ซาโต้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น, และ มร.ซาโตชิ โอกิโซ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ฮีโน่ มอเตอร์ จำกัด

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “โครงการดังกล่าว นอกจากจะเป็นการพัฒนา ต่อยอดการสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีจากองค์กรชั้นนำระหว่างประเทศแล้ว

ยังมีส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมร่วมกันแก้วิกฤตโลกร้อนตามเป้าหมาย Carbon Neutrality (สังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2065 ด้วยซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง ESG 4 Plus ของเอสซีจี”SCG, Toyota, and CJPT Sign an MOU towards achieving Carbon Neutrality in Thailand

มร.โคจิ ซาโต้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวเพิ่มเติมว่า “การประกาศในวันนี้มีจุดเริ่มต้นจากกาารประชุมระหว่างผู้บริหารระดับสูงของเอสซีจีและโตโยต้าเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ในครั้งนั้นเราได้มีมุมมองร่วมกันว่าเราควรทำงานร่วมกันเพื่อทำประโยชน์ให้กับประเทศไทย

ผมรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่เราสามารถร่วมมือกับเอสซีจี ซึ่งให้การสนับสนุนเรามาอย่างยาวนาน และความร่วมมือกับเอสซีจีและCJPTในครั้งนี้ เราจะเร่งความพยายามสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อตอบแทนประเทศไทยที่สนับสนุนธุรกิจของเรา”

มร.ฮิโรกิ นากาจิม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) กล่าวอีกด้วยว่า     “ในความร่วมมือนี้ ทาง CJPT จะร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อเสริมสร้างและเปลี่ยนแปลงภาคการขนส่ง และโลจิสติกส์ในประเทศไทย และเริ่มจากสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมไทยต่อไป”.

CJPT ซึ่งประกอบด้วย อีซูซุ มอเตอร์ จำกัด ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ไดฮัทสุ มอเตอร์ และ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าร่วม
ข้อตกลงนี้ ที่จะเร่งส่งเสริมประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยอยู่ระหว่างการเตรียมการในการก่อตั้งบริษัทใหม่
“CJPT-Asia” (ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนในเอเชีย

ถึงความร่วมมือในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ ความพยายามของ CJPT ในเอเชีย จะรวมถึงการมีส่วนร่วมของ ฮีโน่ มอเตอร์ จำกัด ด้วย เนื่องจากความเป็นกลางทางคาร์บอนควรได้รับความร่วมมือของทุกอุตสาหกรรม และทุกคน ทั้งสามบริษัทจึงต้องการทำงานร่วมกัน โดยเริ่มจากสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ ร่วมกับพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อตอบแทนประเทศไทย

ติดตามข้อมูลผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการตลาดเพิ่มเติมได้ที่

Check Also

Toyota Hilux Revo-e

โตโยต้า ส่งมอบรถกระบะไฟฟ้าที่ประกอบในไทยเป็นครั้งแรก สำหรับทดลองให้บริการในรูปแบบรถสองแถวในเมืองพัทยา

หนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของโตโยต้าคือการ สร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)  ผ่านการจัดการกระบวนการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment) ควบคู่ไปกับ การเตรียมความพร้อมในหลากหลายแนวทาง (Multi Pathway) ที่ว่าด้วยการมุ่งมั่นในการพัฒนาทุกความเป็นไปได้ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเดินทางของผู้คน นำมาสู่การคิดค้นนำเสนอนวัตกรรมยานยนต์รูปแบบใหม่ ๆ …