Breaking News

Mitsubishi Lancer WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกปี 2548

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกปี2548 มีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ภายใต้กฎข้อบังคับใหม่ของการแข่งขัน

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548
Mitsubishi Lancer WRC 05

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548

Mitsubishi Lancer WRC 05

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548

ในปี 2548 มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลก (WRC) ด้วยรถยนต์ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ รุ่น ดับบลิวอาร์ซี 05 ซึ่งได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ภายใต้กฎข้อบังคับใหม่ของการแข่งขันฯ ในปีนั้น โดยเริ่มจากการขยายความกว้างของตัวรถเพิ่มขึ้นอีก 30 มม. จากเดิม 1,770 มม. เพิ่มเป็น 1,800 มม. เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ พร้อมด้วยการปรับดีไซน์ใหม่ ให้แก่

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ดับบลิวอาร์ซี 05 อาทิ ซุ้มล้อหน้า-หลัง ส่วนท้ายด้านข้าง แผงกันชน และอื่นๆ โดย มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ดับบลิวอาร์ซี 05 ยังได้รับการปรับแต่งชุดระบบช่วงล่าง ชุดระบบกันสะเทือน และชุดเพลาขับรุ่นใหม่

เพื่อสร้างความสมดุลให้กับตัวถังรถที่มีขนาดความกว้างเพิ่มมากขึ้น โดยรถแข่งรุ่นดังกล่าวฯ ได้ถูกเผยโฉมและทดสอบไปก่อนหน้านี้จากการแข่งขันบนถนนลาดยางในรายการ คาตาลุญญา แรลลี่ ประเทศสเปน เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2547 ที่ผ่านมา

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548

โดย มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ยังคงเลือกใช้เครื่องยนต์รุ่นเดิม รหัส 4G63 ที่ใช้มาตั้งแต่ต้นฤดูกาลการแข่งขันฯ ในรายการ มอนติคาร์โล แรลลี่ ในเดือนมกราคมของปีเดียวกัน โดยได้ติดตั้งชุดอุปกรณ์ระบบขจัดไอเสียและวาล์วควบคุมระบบแรงอัดอากาศแบบใหม่ พร้อมปรับปรุงสมรรถนะเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

โดยผลจากการปรับปรุงและติดตั้งระบบต่างๆ เพิ่มเติม ทำให้สามารถยกระดับสมรรถนะและประสิทธิภาพของ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ดับบลิวอาร์ซี 05 ให้ดีเพิ่มมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้ติดตั้งระบบเกียร์กึ่งอัตโนมัติที่เพิ่งถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรกในรถแข่งคันดังกล่าวฯ อีกด้วย

โดยวิธีการทำงานของระบบเกียร์รุ่นใหม่นี้ จะอนุญาตให้นักแข่งสามารถปรับเปลี่ยนเกียร์ให้สูงขึ้น หรือ ต่ำลง ด้วยปลายนิ้วผ่านระบบแพดเดิ้ลชิฟที่ติดตั้งอยู่ที่บริเวณพวงมาลัย โดยไม่ต้องอาศัยระบบคลัตช์เข้าช่วยในการเปลี่ยนเกียร์ โดยรายชื่อทีมนักแข่งในปีนี้ ประกอบด้วย มร. แฮรี่ โรแวนพีรา (ฟินแลนด์), มร. กิเรส ปานิชซี และ มร. จิอันลุยจิ กัลลี (อิตาลี)

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ WRC 05 กับการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2548

Mitsubishi Lancer WRC 05

Mitsubishi Lancer WRC 05

มร. ปานิชซี เริ่มต้นฤดูกาลการแข่งขันฯ ที่ยอดเยี่ยมด้วยการคว้าอันดับที่สามจากการแข่งขันรายการ มอนติคาร์โล แรลลี่ และถือเป็นการคว้าตำแหน่งบนโพเดี้ยมครั้งแรกของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส นับตั้งแต่ครั้งสุดท้ายที่สามารถทำได้เมื่อสามปีก่อนในรายการ ซาฟารี แรลลี่ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2544 ส่วนนักแข่งชั้นนำอย่าง มร. โรแวนพีรา ก็สามารถเก็บคะแนนและขับเข้าเส้นชัยได้อย่างต่อเนื่อง

โดยสามารถทำคะแนนสะสมต่อเนื่องได้จาก 9 สนาม ในการลงแข่งขันทั้งหมด 16 สนาม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของนักแข่งผู้นี้ และในเดือนตุลาคม มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกที่ถูกจัดขึ้นบนแผ่นดินบ้านเกิดของตนเองเป็นครั้งแรกในสนามที่ 13 เจแปน แรลลี่ และได้ส่งนักแข่งทั้งหมดให้เข้าร่วมการแข่งขันฯ ในสนามนี้

โดย มร. โรแวนพีรา สามารถคว้าอันดับที่ห้า พร้อมสร้างความประทับใจให้แก่เหล่าบรรดาแฟนคลับชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และในสนามสุดท้ายรายการที่ 16 รอบชิงชนะเลิศที่ ออสเตรเลีย แรลลี่ มร. โรแวนพีรา สามารถคว้าอันดับที่ 2 มาครอง และถือเป็นการคว้าอันดับที่ดีที่สุดสำหรับ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในฤดูกาลดังกล่าว

Mitsubishi Lancer WRC 05

Mitsubishi Lancer WRC 05

Mitsubishi Lancer WRC 05

Mitsubishi Lancer WRC 05

ส่วน มร. กัลลี ก็สามารถจบการแข่งขันฯ ในอันดับที่ 5 ในประเภทรวมโอเวอร์ออล ซึ่งถือเป็นสถิติส่วนบุคคลที่ดีที่สุดของเขาจนถึงปัจจุบัน จากผลการแข่งขันดังกล่าวได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสมรรถนะ ความแข็งแกร่ง และเทคโนโลยีอันยอดเยี่ยมของ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ดับบลิวอาร์ซี 05

และในเดือนธันวาคม ของปีเดียวกันนี้เอง มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้ประกาศว่าทางบริษัทฯ มีความจำเป็นที่ต้องจัดสรรและให้ความสำคัญในด้านการจัดการทรัพยากร จึงได้ประกาศระงับการเข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกในปี 2549 เพื่อมุ่งเน้นการแข่งขันในรายการ ดาการ์ แรลลี่ เป็นหลัก ซึ่งขณะนั้น มิตซูบิชิ มอเตอร์ส สามารถคว้าชัยชนะมาได้ถึง 5 สนาม

และด้วยปรัชญาแห่งการแข่งขันที่กล่าวว่า “ความมุ่งมั่นเพื่อต่อสู้ในการแข่งขันแรลลี่จะช่วยพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในด้านการผลิตยานยนต์ให้แก่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส” โดยผลจากการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวฯ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ ของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส

อาทิ เทคโนโลยีระบบควบคุมการขับเคลื่อนแบบสี่ล้อ รวมทั้งนวัตกรรมด้านเทคโนโลยียานยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยนวัตกรรมเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ถูกคิดค้นและส่งผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบัน จากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมายังรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในปัจจุบันอย่าง รถอเนกประสงค์ เป็นต้น

ประวัติความสำเร็จ

  • 2510-2520 มิตซูบิชิ โคลท์ 1000F / มิตซูบิชิ โคลท์ 1100F / มิตซูบิชิ กาแลนท์ 16L GS / มิตซูบิชิ แลนเซอร์ 1600 GSR
  • 2524-2530 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ EX2000 TURBO / มิตซูบิชิ สตาร์เลี่ยน 4WD / มิตซูบิชิ สตาร์เลี่ยน TURBO
  • 2531-2535 มิตซูบิชิ กาแลนท์ VR-4
  • 2536 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น
  • 2537 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่นⅡ
  • 2538 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅲ
  • 2539 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅲ
  • 2540 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅳ
  • 2541 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅳ / มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅴ
  • 2542 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅵ
  • 2543 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅵ (ทอมมี่ มาคิเนน เอดิชั่น)
  • 2544 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น Ⅵ (ทอมมี่ มาคิเนน เอดิชั่น) / มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น WRC
  • 2545 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น WRC02
  • 2546 ยกเลิกการแข่งขัน
  • 2547 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น WRC04
  • 2548 มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น WRC05

ข้อมูลเพิ่มเติม:

https://www.mitsubishi-motors.com/en/innovation/motorsports/wrc/

ติดตามข้อมูลข่าวสาร มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ได้ที่ 

Check Also

Volvo Car Thailand appoints Tanaraks Group as a new authorized retailer

วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง TNR NORDIC เป็นผู้จัดจำหน่ายรถวอลโว่อย่างเป็นทางการในจังหวัดพิษณุโลก

  วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง ทีเอ็นอาร์ นอร์ดิก (TNR NORDIC) เป็นผู้จัดจำหน่ายรถวอลโว่อย่างเป็นทางการในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียงในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย การขยายเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายในครั้งนี้คือส่วนหนึ่งของกลยุทธในการยกระดับประสบการณ์การให้บริการ เพื่อรองรับการเติบโตของกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสนใจในรถไฟฟ้าระดับพรีเมี่ยมจากวอลโว่มากยิ่งขึ้น และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ในฐานะผู้นำทางอุตสาหกรรมของกลุ่มรถไฟฟ้าระดับพรีเมี่ยม คริส …